เหรียง ชื่อวิทยาศาสตร์: Parkia timoriana ชื่ออื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มาเลย์-ใต้); สะตือ (ใต้)เป็นพืชในวงศ์ Mimosaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น
เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ
ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง
มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโตแต่หัวจะโตกว่าและมีสีเขียว รสมัน กลิ่นฉุน
ได้มาจากการนำเมล็ดในฝักเหรียง ซึ่งจะออกฝักในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี
ในหนึ่งฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 20 เมล็ด
วิธีการนำไปรับประทานจะนำเมล็ดที่แกะจากฝักไปเพาะในทราย
เพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ออกมาเหมือนกับถั่วงอก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า
เมล็ดเหรียงนั้นมีเปลือกที่แข็งมากไม่สามารถนำมาบริโภคโดยตรงได้
เครื่องปรุง :ขั้นตอนการทำ :
-นำเนื้อวัวที่หั่นเป็นชิ้นหนาประมาณ 3-5 มม. มาเทใส่ภาชนะตั้งไฟ
- ตั้งไฟให้เนื้อคายน้ำออกมา แล้วค่อยตักฟองเลือดสีน้ำตาลออก
-ใส่พริกแกงเผ็ดลงไป
-ตามด้วยกะปิอย่างดี
-เมื่อพริกแกงเข้าเนื้อ น้ำแห้งลงเล็กน้อยก็ใส่กะทิลงไป
-ปรุงรสด้วย น้ำตาล น้ำปลา และผงปรุงรสเล็กน้อย(หรือไม่ใส่ก็ได้)
-แล้วต่อด้วยหน่อเหรียง หรือลูกเหรียง ล้างสะอาดลงไป
-เพิ่มกลิ่นหอมด้วยใบมะกรูด
-เพิ่มสัสันด้วยพริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ
-เมื่อน้ำงวดลง และรสชาติเข้มข้นถึงใจดีแล้ว ก็ยกลงจากเตา
-ตักพร้อมเสิร์ฟ
-แต่งหน้าเพิ่มสีสันในชามเสิร์ฟด้วยพริกแดงอีกเล็กน้อย
-เสิร์ฟทานพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
-หรือเสิร์ฟแบบราดข้าวเป็นเซ็ตอาหารจานเดียว
-จากนั้นก็ลงมือได้เลยค่ะ
..... :-P .....
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น